top of page

วิธีการปรับความคิด เพื่อ ความสัมพันธ์ที่มั่นคง

Updated: Mar 4, 2022

มีการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การที่เราจะมีชีวิตที่มีความสุขได้นั้นมาจาก ความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีนั้น เกิดจากความเข้าใจซึ่งกันและกัน รู้สึกมั่นคง ปลอดภัยในความสัมพันธ์นั้นๆ

การที่เราจะมีความสัมพันธ์ที่ทำให้เรารู้สึกมั่นคง ปลอดภัยได้นั้น เราจะต้องปรับความคิดของเราให้ถูกต้อง



John Bowlby นักจิตวิทยาได้สร้าง ทฤษฎีความสัมพันธ์ โดยเขาได้ทำการศึกษา ชีวิตในวัยเด็กของกลุ่มตัวอย่าง และพบว่า เด็กที่เติบโตมาด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับคนเลี้ยง หรือผู้ปกครอง จะเติบโต เป็นผู้ใหญ่ ที่มีความกล้าหาญ มั่นคงทางจิตใจ พร้อมที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ เพราะเขารู้ว่า เขามีคนที่จะช่วยเหลือเขาคอยมองดู และพร้อมที่จะช่วยเหลือเขาอยู่เสมอ ในทางกลับกัน เด็กที่เติบโตมาด้วยความการถูกทอดทิ้ง หรือ ความรู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่อเขาโตขึ้นมา เขาจะแสวงหาความรู้สึกนั้นมาเติมเต็ม เขาจะไม่กล้าทดลองอะไรใหม่ๆ และต้องการความสนใจอยู่ตลอดเวลา


ความสัมพันธ์ เกิดขึ้น จากความรู้สึกเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสองทางเสมอไป ความสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้จากคนหนึ่งมีความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันกับอีกคนหนึ่ง ในขณะที่อีกคนไม่ได้รู้สึกเช่นเดียวกันก็ได้

ความสัมพันธ์ เกิดขึ้น ตั้งแต่ เรายังเป็นเด็กทารก ซึ่งเด็กทารกจะพัฒนาไปเป็นคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต เกิดจากการเลี้ยงดู ซึ่ง ผู้ปกครอง หรือคนเลี้ยง ควรจะตอบสนองความต้องการของเขา ในช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นช่วงที่เขากำลังปรับตัวกับโลกใบใหม่ เขาไม่สามารถสื่อสารโดยการพูดได้นอกจากร้องไห้ การตอบสนองต่อความต้องการของเขา จะช่วยทำให้เขารู้สึกปลอดภัยกับโลกใบใหม่ของเขา



นักจิตวิทยาแบ่งความสัมพันธ์ในเด็กออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

- ความสัมพันธ์ที่มั่นคงปลอดภัย: ความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยทางจิตใจ แม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่กับคนเลี้ยง เพราะเขามั่นใจว่าเขาจะไม่ถูกทอดทิ้ง และจะได้รับการช่วยเหลือเสมอเมื่อเขาต้องการ


- ความสัมพันธ์ที่รู้สึกสับสน: เด็กกลุ่มนี้จะรู้สึกไม่มีความสุข และกังวลเมื่อผู้ปกครอง หรือคนเลี้ยงไม่ได้อยู่กับเขา พวกเขารู้สึกว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะไว้ใจ หรือพึ่งพาคนเลี้ยงของพวกเขาได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคนเลี้ยงกลับมา เขาจะรู้สึกสับสน และรู้สึกยึดติดกับคนเลี้ยงของพวกเขา


- ความสัมพันธ์ที่ถูกละเลย: เด็กกลุ่มนี้จะหลีกเลี่ยงคนเลี้ยงหรือผู้ปกครอง เขาจะเลือกที่จะไม่ใช้เวลากับคนเลี้ยงหรือผู้ปกครองเมื่อเขาเลือกได้ นักจิตวิทยาพบว่า เด็กกลุ่มนี้ เติบโตขึ้นจากการถูกละเลยของคนเลี้ยงนั่นเอง



- ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นระเบียบ: เด็กกลุ่มนี้มีความต้องการผู้ปกครองในบางครั้ง นักจิตวิทยาพบว่า ความรู้สึกนี้เกิดจากการดูแลเอาใจใส่ที่ไม่สม่ำเสมอ


จากที่กล่าวไปข้างต้น เป็นที่มาที่ไปของพัฒนาการความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ที่เรายังเป็นทารก และเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ รูปแบบความสัมพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้


- ความมั่นคง: คนกลุ่มนี้ เติบโตมาจากการเลี้ยงดูที่ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย และมั่นคง พวกเขาเติบโตขึ้น ด้วยความสามารถที่จะรักใครสักคนได้อย่างจริงใจ และสามารถที่จะอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุขเช่นกัน คนกลุ่มนี้มักจะมีชีวิตคู่ที่ดี เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการความสัมพันธ์ที่ต้องการใครสักคนเท่านั้น แต่พวกเขารู้ว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการคืออะไร และเลือกคนรักที่พวกเขาคิดว่าใช่สำหรับพวกเขาอย่างแท้จริง

- ความกังวล: คนกลุ่มนี้มักจะไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ แต่ต้องการการสร้างความมั่นใจจากผู้ปกครอง หรือคนรอบตัวเสมอๆ พวกเขาโตมาจากความสัมพันธ์แบบสับสน คนกลุ่มนี้มักจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีเมื่อโตขึ้นมา เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถที่จะอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุข แต่อย่างไรก็ตาม คนในกลุ่มนี้ สามารถที่จะเรียนรู้ที่จะสื่อสารความต้องการที่ดีขึ้น และ เรียนรู้ที่จะเดทกับคนในกลุ่มที่มีความมั่นคงได้

- ความละเลย: คนกลุ่มนี้มีปัญหาอย่างมากในการที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดี เพราะพวกเขาเติบโตมาจากการถูกทอดทิ้ง พวกเขารู้สึกไม่มีความสุขกับการมีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด พวกเขาชอบที่จะอยู่คนเดียวมากกว่า


- ความกังวล-ความละเลย: คนในกลุ่มนี้ มีความรู้สึกแบบผสมกันระหว่าง ความกังวล และ ความละเลย กล่าวคือ ในบางครั้งพวกเขาก็ต้องการใครสักคน ในบางครั้งพวกเขาก็อยากอยู่คนเดียว และผลักคนอื่นออกไปจากชีวิต คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้


อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและค้นพบว่า เราทุกคนสามารถที่จะปรับความรู้สึกและความคิดของเราให้กลายเป็นคนที่มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงได้ ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้


- กลุ่มละเลย


ขั้นแรก เราจะต้องรู้และเข้าใจว่าเราจัดอยู่ในประเภทไหนเสียก่อน คนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ชอบที่จะอยู่คนเดียว และรู้สึกอึดอัดในความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด พวกเขามักจะจบความสัมพันธ์อย่างรวดเร็วก่อนที่จะใกล้ชิดมากจนเกินไป


คนในกลุ่มนี้สามารถพัฒนาตัวเองได้โดยการ ยอมให้คนรักของคุณทำอะไรให้คุณบ้าง มองในข้อดีที่มีในตัวคนรักของคุณ และขอบคุณในสิ่งๆ นั้นที่เขามี พยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และความรู้สึก


บอกกับตัวเองว่า การพึ่งคนอื่นไม่ใช่เรื่องผิด และการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับใครสักคนก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน

- กลุ่มกังวล


คุณจะต้องเรียนรู้ในการสื่อสารความต้องการของคุณให้ดีกว่านี้ และนี่คือปัญหาที่สำคัญของกลุ่มกังวล

ถ้าคุณสามารถบอกถึงความรู้สึก และความต้องการของคุณได้อย่างชัดเจน คุณก็จะรู้สึกวิตกกังวลน้อยลง และทำให้คุณสามารถพบเจอ และพัฒนาความสัมพันธ์กับคนที่เข้าใจ และสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของคุณได้อย่างแท้จริงมากยิ่งขึ้น

- กลุ่มกังวล - ละเลย

คนในกลุ่มนี้มีความซับซ้อนมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ พวกเขาต้องการที่จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในขณะเดียวกัน ก็ต้องการที่จะอยู่คนเดียว ซึ่งมักจะมีพฤติกรรม ผลักไสคนรักให้ออกไปจากชีวิตในบางครั้งโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ดังนั้นวิธีการแก้ไข คือ การตามรู้เท่าทันความรู้สึกของตัวเอง เมื่อเรากำลังทำอะไรที่เป็นการผลักไสคนที่เรารัก ให้ถามตัวเองว่า เราทำแบบนั้นเพราะอะไร ถ้าคุณรู้สึกว่า คุณกำลังทำแบบนั้นเพราะคุณกังวลว่าคนรักจะทิ้งคุณไป ให้ถามตัวเองว่า อะไรทำให้คุณรู้สึกเช่นนั้น และคุณจะพบว่าบ่อยครั้งคุณก็คิดไปเอง



ทั้งหมด เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ทั้งหมด และวิธีการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้เรามีความสัมพันธ์ที่มั่นคงมีความสุขมากยิ่งขึ้น



 

The Better You by Pair


เราเป็น Platform ที่แบ่งปันบทความด้านจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณ


นอกจากนี้ เรายังมีบริการอื่นๆ ที่คุณสามารถใช้บริการได้ในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่


การให้บริการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยามืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกษามากกว่า 100 ชั่วโมง 

การบำบัดในรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจสำหรับปัญหาของคุณโดยเฉพาะ 


bottom of page