อะไรคือ ความกลัวการถูกทอดทิ้ง และ วิธีการเยียวยา
Updated: Mar 5, 2022
ความกลัวการถูกทอดทิ้ง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งมีสาเหตุมาจากบาดแผลทางใจไม่ว่าจะเป็นในวัยเด็ก หรือ ประสบการณ์ความสัมพันธ์ในอดีต
ความกลัวการถูกทอดทิ้ง ส่งผลให้เราไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ เราจะสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากความเจ็บปวด หรือ มีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำลายความสัมพันธ์ของเรากับคนรัก หรือ บุคคลรอบตัว
การที่จะก้าวข้ามความกลัวนี้ได้ ขั้นแรก เราจะต้องเข้าใจว่าเรามีความกลัวนี้ก่อน ซึ่งสามารถรู้ได้จากการพูดคุยกับนักบำบัด หรือ เรียนรู้ได้จากอาการและสัญญาณ ที่จะอธิบายต่อไปในบทความนี้

ประเภทของความกลัวการถูกทอดทิ้ง
กลัวว่าจะไม่ได้รับความสนใจ (Fear of emotional abandoment)
มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการได้รับความสนใจ ใส่ใจ และ ยอมรับด้วยกันทั้งสิ้น หากความรู้สึกของเราถูกเพิกเฉย ก็จะส่งผลทำให้เรารู้สึก ไร้ค่า ไม่ได้รับความรัก และโดดเดี่ยว
กลัวว่าจะถูกทอดทิ้งในเด็ก (Fear of abandonment in children)
เด็กช่วงอายุ 1 -3 ปี มักจะมีความกลัว ว่าจะถูกทอดทิ้ง หรือ ถูกแยกจากคนเลี้ยง พวกเขายังไม่สามารถเข้าใจได้ว่า การที่คนเลี้ยงของเขาหายไป แล้ว คนเลี้ยงจะกลับมาเมื่อไร หรือ จะกลับมาไหม ทำให้เด็กกลุ่มนี้แสดงออกทางพฤติกรรม โดยการ ร้องไห้ ไม่ยอมออกห่างจากคนเลี้ยง เป็นต้น
กลัวการถูกทอดทิ้งจากคนรัก
เราทุกคนล้วนมีความกลัวความเจ็บปวด จากความสัมพันธ์ด้วยกันทั้งส้ิน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาของการไว้วางใจผู้อื่น พวกเขาจะมีความกังวลอย่างมากในความสัมพันธ์ ทำให้เขาไม่ไว้วางใจคนรัก แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่
พฤติกรรมการแสดงออกของคนที่มีความกลัวถูกทอดทิ้ง
รู้สึกอ่อนไหวกับคำวิพากวิจารณ์ของคนอื่นมากกว่าปกติ
รู้สึกว่าการให้ความเชื่อใจคนอื่นเป็นเรื่องยาก
ยากที่จะเป็นเพื่อนกับใคร เว้นเสียว่า เรามั่นใจว่าเขาชอบเราแน่ๆ
พยายามป้องกันตัวเองจากการถูกปฏิเสธ
มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อการใช้ชีวิต
รู้สึกว่าเราติดคนอื่นได้ง่าย และ ทำใจได้อย่างรวดเร็ว หากความสัมพันธ์จบลงเช่นกัน
รู้สึกไม่มั่นใจที่จะมีความสัมพันธ์ที่จริงจัง
พยายามทำตัวให้คนอื่นชอบ และ ยอมรับ ตลอดเวลา
โทษตัวเองเสมอ เมื่อ เรื่องรวไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้
ยังคงอยู่ในความสัมพันธ์ แม้ว่า จะทำให้เราทุกข์ใจ
สาเหตุของความกลัวการถูกทอดทิ้ง
มีประสบการณ์การถูกทิ้งจากความสัมพันธ์ในอดีต
ถ้าเรามีความรู้สึกกลัวการถูกทอดทิ้งในความสัมพันธ์ปัจจุบัน อาจเป็นเพราะเราเคยมีประสบการณ์ การถูกทอดทิ้ง หรือ ถูกละเลยมาก่อนในอดีต ตัวอย่างเช่น
ตอนเป็นเด็ก เรามีประสบการณ์คนที่ดูแลเราเสียชีวิต หรือ การที่คนเลี้ยงละทิ้งไป
มีประสบการณ์ที่ถูกคนเลี้ยงปล่อยปละละเลย
โดนปฏิเสธจากกลุ่มเพื่อน หรือ ญาติพี่น้อง
คนที่รักป่วยเป็นเวลานาน
คนรักจากไปอย่างกะทันหัน หรือ ทำลายความเชื่อใจเรา
จากตัวอย่างเหตุการณ์ข้างต้น สามารถนำไปสู่ความรู้สึกกลัวต่อการถูกทอดทิ้งได้
พฤติกรรมหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder)
พฤติกรรม หลีกเลี่ยง เป็น ความผิดปกติที่มาจากความกลัว การถูกทอดทิ้ง ส่งผลให้คนคนนั้น หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรือ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนอื่น อาการและสัญญาณอื่นๆ ได้แก่
ความรู้สึกประหม่า
มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ
กลัวอย่างมากต่อการถูกตัดสิน หรือ ถูกปฏิเสธ
รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางคนเยอะ
พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลุ่ม และ แยกตัวอยู่คนเดียว
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder)
เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เกิดจากความกลัวการถูกทอดทิ้ง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการและสัญญาณ ดังต่อไปนี้
มีความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง
มีภาพของตัวเองที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
มีความรู้สึกถูกกระตุ้นได้อย่างรุนแรง
อารมณ์ไม่มั่นคง และ มีความโกรธที่ไม่เหมาะสม
กลัวการอยู่คนเดียว
คนที่มีความผิดปกติประเภทนี้มักจะเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือทำร้ายร่างกายเมื่อตอนเขาเป็นเด็ก หรือเติบโตมาในครอบครัวที่มีความขัดแย้ง
ความกลัวการถูกแยกจาก (Separation anxiety disorder)
ถ้าเด็กที่สามารถเอาชนะความวิตกกังวลว่าจะถูกทิ้งได้ และ ความวิตกกังวลนั้นส่งผลต่อการทำกิจกรรมในแต่ละวัน พวกเขาอาจมีอาการของ separation anxiety disorder
สัญญาณ และ อาการอื่นๆ ได้แก่
panic attacks
มีความคิดที่สร้างความทุกข์ ว่าจะถูกทิ้ง
ปฏิเสธที่จะออกจากบ้านโดยไม่มีคนที่เขารัก หรือ อยู่บ้านคนเดียว
ฝันร้าย ที่เกี่ยวกับการถูกทอดทิ้ง
มีปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เมื่อต้องแยกจากคนที่รัก
วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ก็สามารถมีอาการของ sepration anxiety disorder ได้เช่นกัน
ผลกระทบระยะยาวจากความกลัวการถูกทอดทิ้ง
มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนรัก หรือ คนรอบตัว
มี self-esteem ต่ำ
มีปัญหาการเชื่อใจคนอื่น
มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์โกรธ
อารมณ์แปรปรวน
มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาผู้อื่น
กลัว ความใกล้ชิด
โรควิตกกังวล
Panic disorder
โรคซึมเศร้า
ตัวอย่างของความกลัวถูกทอดทิ้ง
ความกลัวที่เกิดขึ้นรุนแรง ทำให้เราไม่ให้คนอื่นเข้าใกล้ เพราะเรากลัวว่าจะถูกทอดทิ้งอีก โดยมีความคิดว่า ถ้าไม่ผูกพันธ์กับใคร ก็จะไม่ต้องโดยทิ้ง
มีความวิตกกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการมองโลกที่ผิดพลาด หรือ ว่าคนอื่นจะคิดกับเราอย่างไร
ยอมคนอื่น และพยายามเอาใจคนอื่นอย่างมาก เพราะกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับ
รู้สึกแย่มากถ้ามีใครมาวิพากวิจารณ์ หรือ รู้สึกเสียใจมาก
รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ
เราเลิกกับคนรักก่อน เพราะกลัวเขาจะบอกเลิกเรา
เราต้องการอยู่ด้วยตลอด แม้ว่าเขาจะขอพื้นที่ส่วนตัว
ขี้หึง หวาดระแวง และวิพากวิจารณ์คนรักเป็นประจำ
วิธีการรักษา
เยียวยาจากปัญหาการถูกทอดทิ้ง
เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีปัญหาความกลัวการถูกทอดทิ้ง มีวิธีที่เราจะเริ่มเยียวยาตัวเองได้โดยการ
เลิกตำหนิ หรือ มองตัวเองไม่ดี พยายามคิดด้านบวกกับตัวเอง ว่าอะไรบ้างที่ทำให้เราเป็นเพื่อนที่ดี หรือ เป็นคนรักที่ดี
คุยกับคนอื่นเกี่ยวกับความกลัวการถูกทอดทิ้งของเรา และ เพราะอะไรทำให้เรากลัว เพื่อให้เขาเข้าใจที่มาของพฤติกรรมบางอย่างของเรา และพยายามรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว การมีความสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้เรารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และ รู้สึกว่าเรามีพวก
ถ้าเรารู้สึกว่าไม่สามารถจัดการได้ เราควรรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ
The Better You by Pair
เราเป็น Platform ที่แบ่งปันบทความด้านจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณ
นอกจากนี้ เรายังมีบริการอื่นๆ ที่คุณสามารถใช้บริการได้ในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่
การให้บริการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยามืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกษามากกว่า 100 ชั่วโมง
การบำบัดในรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจสำหรับปัญหาของคุณโดยเฉพาะ