top of page
Writer's pictureUngkana Kerttongmee

6 ลักษณะอาการของภาวะ imposter syndrome ที่กระทบกับการทำงานของคุณ

Updated: Jul 16

คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าคะ ที่คิดว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ เป็นเพราะเราดวงดี หรือ โชคดี

และ เมื่อไรที่มีเรื่องแย่ๆ เกิดขึ้น เช่น ทำอะไรสักอย่างผิดพลาด หรือ ไม่สำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ คุณคิดว่า นี่เป็นเพราะ คุณไม่เก่ง ไม่ฉลาดพอ


ถ้าใช่ คุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีภาวะ imposter syndrome อยู่ค่ะ


imposter syndrome
imposter syndrome

มีการศึกษาทางจิตวิทยาพบว่า คนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มีความสามารถพอ มักจะมีคะแนนในด้านของความซื่อสัตย์ (honesty) และ อ่อนน้อมถ่อมตน (humility) ในระดับต่ำ


เหตุผลก็เพราะว่า คนเหล่านี้ มักจะพยายามสร้างภาพว่าเรามีความสามารถเพียงพอกับการทำงาน ทั้งที่ในใจลึกๆ รู้สึกวิตกกังวลว่าคนจะรู้ว่า เราไม่ได้เก่งหรือมีความสามารถแบบที่เราแสดงออก และความสำเร็จของเรานั้นมาจากความโชคช่วยมากกว่าความสามารถที่แท้จริง



ในขณะเดียวกัน การที่คะแนน ความอ่อนน้อมถ่อนตนอยู่ในระดับต่ำกว่าคนทั่วไป เพราะพวกเขาคิดว่า เขาไม่ได้ดีหรือเก่งกว่าคนอื่นนั่นเอง


ความคิดที่ว่าเราไม่เก่งพอ ไม่มีความสามารถพอ และความสำเร็จที่ผ่านมาในชีวิตเป็นเพราะโชคชะตานั้น นำมาซึ่งผลเสียมากมายในหน้าที่การงาน



การที่เราสงสัยในความสามารถของตัวเองอยู่เสมอ ทำให้บ่อยครั้งเราไม่กล้าที่จะทำงานที่ท้าทาย ที่จะช่วยทำให้เราพัฒนาทักษะ ความสามารถ และ ประสบการณ์ พวกเขามักจะตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเองที่ต่ำเกินไป ที่ไม่ช่วยให้พวกเขาพัฒนา หรือ สูงเกินไป ที่ไม่มีทางที่จะทำได้สำเร็จ และ เมื่อล้มเหลว ก็วนซ้ำกลับมาโทษตัวเองว่า ความล้มเหลวนั้นมาจาก ความฉลาด หรือ ความสามารถของตัวเองอีก ซึ่งไม่จริงเลย ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลว มีมากมาย ส่วนหนึ่งมาจากภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมจัดการได้


จากการศึกษา นักจิตวิทยาได้ เปิดเผยลักษณะ 6 ข้อบอกว่าคนๆ นั้นมีภาวะ imposter syndrome ได้แก่


  1. สงสัยในความสามารถของตัวเองอยู่เสมอ

  2. ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง

  3. ไม่ชอบเข้าสังคม ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว

  4. มีความทะเยอทะยาน ต้องการที่จะประสบความสำเร็จ

  5. ต้องการเป็นที่ยอมรับ

  6. แบกรับความคาดหวังของคนอื่น


จะเห็นได้ว่า จากลักษณะ 6 ข้อข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าคนที่มีภาวะ imposter syndrome มีความเครียด ถึงแม้เขาจะรู้ว่าเขามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร หรือ แม้แต่รู้ตัวเองว่า เขากำลังมีภาวะ imposter syndrome แต่ด้วยสิ่งที่เขากำลังเผชิญ รูปแบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหน้าที่การงาน


นักจิตวิทยาได้แนะนำวิธีที่จะช่วยให้พวกเขาปรับวิธีคิด และรับมือกับความรู้สึกดีไม่พอเก่งไม่พอ โดยการกลับมาปรับที่เป้าหมายที่เราตั้ง

เราควรตั้งเป้าหมายที่เราคิดว่าเราพอที่จะทำมันให้สำเร็จได้ แต่มีความท้าทายมากพอที่เราจะได้เรียนรู้ และ เติบโต



อย่างไรก็ดี imposter syndrome ก็มีส่วนดีเช่นกัน นั่นคือ เมื่อเราคิดว่าเราดีไม่พอ เก่งไม่พอ แต่เรามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่เราอยากทำมันให้สำเร็จให้ได้ เราก็จะใช้ความพยายามอย่างมากที่เราจะทำมันให้สำเร็จ แต่ถ้ามันมากเกินไป ก็จะส่งผลต่อความเครียด ความกดดัน และ ในที่สุด ผลกระทบต่อการมองเห็นคุณค่าในตัวของเราเอง


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ


ถ้าหากคุณรู้สึกว่ากำลังเผชิญหน้ากับความทุกข์ ความเครียด จากภาวะ imposter syndrome และต้องการความช่วยเหลือในการปรับที่ความคิด เพื่อที่เราจะได้พัฒนา เติบโต และ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยมุมมองที่มองว่ามันเป็นเรื่องสนุก มากกว่าความกดดัน สามารถติดต่อพูดคุยกับนักจิตวิทยาของเราได้



 

The Better You Counseling

คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง? The Better You Counseling พร้อมเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับสู่ชีวิตที่ดีกว่า ด้วยบริการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้ง Online และ Onsite เราพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านสุขภาพจิตของคุณ

🔓 Individual Counseling: เซสชั่นส่วนตัวเพื่อสำรวจตัวตนและค้นหาแนวทางในการเติบโต

💑 Couple Counseling: เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างคู่รัก

👥 Group Counseling: แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน

เรายังมีหลักสูตรด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เพื่อเสริมทักษะการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ พร้อมด้วยบริการบำบัดรักษาเฉพาะทางสำหรับ:

🩹 ผู้ประสบภาวะสะเทือนขวัญทางใจ (Trauma)

✍️ การบำบัดผ่านการเขียน (Writing Therapy)

🧘‍♀️ Retreat Program ที่ผสมผสานการบำบัดและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

สำหรับองค์กร เราพร้อมให้บริการ:

🔍 วิเคราะห์สุขภาพจิตในที่ทำงาน

🎓 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในสถานที่ทำงาน

 



161 views0 comments

Comments


bottom of page