top of page

5 รูปแบบผลกระทบจากบาดแผลทางจิตใจที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

Updated: Mar 12

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมเราถึงต้องเผชิญกับเรื่องราวที่ไม่ดีๆ ซ้ำๆ และทำไมเราไม่สามารถมูฟออนจากความทุกข์หรือความสัมพันธ์ที่ไม่ดีได้?

บางทีสาเหตุที่ทำให้เราประสบกับเรื่องราวที่ไม่ดีซ้ำๆ หรือไม่สามารถย้ายต่อไปได้ อาจมาจากบาดแผลทางใจที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา



บาดแผลทางจิตใจหรือ "Trauma" คือการตอบสนองทางอารมณ์ของมนุษย์ต่อเหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุ, การถูกข่มขืน, การถูกทำร้ายร่างกาย, หรือการประสบภัยจากธรรมชาติ


คนที่มีบาดแผลทางจิตใจ สามารถมีอาการที่ตรวจสอบได้ เช่น ความหวาดกลัว, ความเครียด, ความวิตกกังวล หรือความโกรธ เมื่อพวกเขาเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น



คนที่ต้องเผชิญความเครียดนานๆ โดยไม่ได้รับการบำบัด เช่น อยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอยู่เสมอ, มาจากครอบครัวที่มีความรุนแรง, หรือ ตกงานนานๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดแผลทางจิตใจ คนกลุ่มนี้มักมีปัญหาในด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว เพราะพวกเขากลัวว่า เหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดใจจะเกิดขึ้นซ้ำ จึงยากที่จะเชื่อใจใครง่ายๆ


นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษา และระบุรูปแบบการตอบสนองทางอารมณ์ของคนกลุ่มนี้ ซึ่งมีผลเสียต่อความสัมพันธ์ ออกเป็น 5 รูปแบบดังต่อไปนี้


1. รู้สึกว่าตนเองอยู่ในภาวะเสี่ยงตาย


สมองของผู้ที่มีบาดแผลทางจิตใจและไม่ได้รับการรักษา หรือ ภาวะ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) จะกระตุ้นให้ร่างกายอยู่ในโหมด 'สู้', 'หนี', หรือ 'หยุดนิ่ง' เมื่อพวกเขารู้สึกว่ากำลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่คล้ายกับเหตุการณ์ในอดีตที่พวกเขาเคยประสบ โหมดนี้คือสภาวะที่ร่างกายพัฒนาขึ้นมาเพื่อรอดจากอันตรายที่อาจส่งผลต่อชีวิต ผ่านการตัดสินใจว่าจะสู้ หนี หรือหยุดนิ่ง


มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่ในสังคม ในอดีตเราต้องอาศัยการอยู่ในกลุ่มหรือเผ่าพันธ์ของเราเพื่อรับความคุ้มครอง มีอาหาร และที่อยู่อาศัย การถูกขับไล่ออกจากกลุ่มในอดีตอาจส่งผลต่อการรอดชีวิต ดังนั้น นี่คือเหตุผลที่มนุษย์พัฒนาสัญชาตญาณในการรอดชีวิต เพื่อสร้างความต้องการให้รับการยอมรับและหลีกเลี่ยงการถูกปฏิเสธ


2. สู้ หนี หยุด


คนที่มีบาดแผลทางใจ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก หรือระหว่างการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากต้องเผชิญกับความสัมพันธ์ที่ทำให้เขารู้สึกไม่มั่นคง ถูกทิ้ง เลิกรา หรือแม้แต่ความเครียดอื่นๆ เช่น การถูกเลิกจ้างจากงาน ปัญหาด้านสุขภาพ หรือปัญหาหนี้สิน สมองของพวกเขาจะสร้างโหมดสู้ หนี หยุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง แต่ละคนจะเลือกวิธีการที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตของพวกเขา นั่นเอง


สู้ - หาเรื่องทะเลาะกับคนที่ทำให้เขารู้สึกไม่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรง หรือพูดจาทำร้ายจิตใจที่เขาไม่ได้ตั้งใจ พยายามโทษและโยนความผิดให้คนอื่น ไม่รับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตัวเอง หรือพยายามควบคุมโดยไม่ปล่อยวาง


หนี - หนีปัญหา มีความเครียดมาก วิตกกังวลมาก ระบายความเครียดออกมาโดยไม่คิดมาก เช่น การซื้อของ หรือรับประทานอาหารเพื่อระบายความเครียด หลีกเลี่ยงความใกล้ชิดกับผู้คน


หยุด - หยุดนิ่ง แยกตัวออกจากผู้คน รู้สึกสิ้นหวัง และซึมเศร้า


3. การตอบสนองจากความอับอาย


Interpersonal trauma คือ บาดแผลทางจิตใจที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นต่อตนเอง บุคคลในกลุ่มนี้มักถูกทำให้รู้สึกอาย เช่น การถูกข่มขืน หรือ ล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเหยื่อมักมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย หรือ สถานการณ์ที่ไม่ดี เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย หรือ จิตใจ และ ถูกโยนความผิดให้ เช่น การเลิกกับสามี และ อยู่ในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่สังคมมองว่า เป็นการถูกทอดทิ้ง และอื่นๆ


บุคคลกลุ่มนี้มักจะปิดบังตัวเอง หรือ ไม่กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากความอาย หรือ แสดงอาการโกรธเพื่อปกป้องตัวเอง จากความรู้สึกเจ็บปวด และ ความไม่มั่นคงภายในจิตใจ


อีกอย่างที่สังเกตได้คือ บุคคลกลุ่มนี้มักมีความอ่อนแอต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ แม้ว่าจะเป็นในด้านที่ช่วยให้พวกเขาพัฒนาปรับปรุงก็ตาม เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่า พวกเขาคือความผิดพลาด ไม่สมบูรณ์แบบ และ ไม่ต้องการให้ใครรู้ หรือ ไม่ต้องการที่จะยอมรับ ทำให้เกิดอารมณ์โกรธ และ พยายามปกป้องตัวเอง

ทั้งนี้ บางคนอาจมีรูปแบบของการเสพติด ไม่ว่าจะเป็น ยาเสพติด แอลกอฮอล์ เกมส์ ทำงานมากจนเกินไป เพศสัมพันธ์ หรือ ตอบสนองต่อสิ่งที่กระทบอารมณ์โดยไม่ได้คิดอย่างรอบคอบก่อน พฤติกรรมเหล่านี้มักทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง


4. มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์


เหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลทางจิตใจไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิต เท่านั้น แต่ยังสร้างรูปแบบความเชื่อและวิถีชีวิตของบุคคลด้วย


ตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งที่เติบโตในสภาพความขัดแย้งของพ่อแม่ ที่พ่อเป็นคนเจ้าชู้ โกหก และดื่มเหล้า ทุกครั้งที่พ่อแม่ทะเลาะกัน เขาจะรู้สึกเครียด และคิดว่าเขามีส่วนในความขัดแย้งนั้น ทำให้เขาเชื่อว่า ผู้ชายมักเจ้าชู้ ติดเพื่อน และชอบดื่มเหล้า


เมื่อเขาโตขึ้นมีคนรัก เมื่อใดก็ตามที่คนรักกลับบ้านดึก เขาก็จะคิดว่า คนรักของเขาต้องโกหก และไปดื่มเหล้าแน่ๆ ความเชื่อนี้ส่งผลต่อการตีความเหตุการณ์ อารมณ์ และพฤติกรรมการแสดงออก ทำให้เกิดความขัดแย้ง และห่างเหินในความสัมพันธ์


ความกลัว ความเจ็บปวด ความล้มเหลว หรือการถูกทอดทิ้งทำให้พวกเขาเลือกปฏิเสธคนอื่นต่อไป ทำให้เมื่อมีปัญหาในความสัมพันธ์ แทนที่พวกเขาจะหาทางเยียวยารักษา พวกเขากลับทำลายมัน หรือในบางราย พวกเขาไม่กล้าบอกความรู้สึกและความกังวลที่แท้จริงของตน พวกเขาต้องการให้คนรักเข้าใจโดยไม่ต้องบอก และเมื่อคนรักไม่เข้าใจ หรือไม่ทำตามที่เขาคาดหวัง พวกเขาก็จะรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ และทุกข์ใจ




5. เลือกคู่ที่ไม่เหมาะสมหรืออยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี


คนที่มีประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจตั้งแต่วัยเด็กอาจจะไม่ไว้วางใจในผู้คนอื่น ๆ รู้สึกว่าโลกไม่ปลอดภัย และตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาคุ้นเคย จึงสูญเสียความรู้สึกชื่นชมและความเห็นคุณค่าในตนเอง



ด้วยความคุ้นเคยกับการถูกทำร้าย พวกเขามักจะยังคงอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี แม้ว่าจะไม่มีความสุข และต้องเผชิญกับความทุกข์ใจ พวกเขาก็ไม่กล้าที่จะออกจากสถานการณ์นี้ หรือยืนหยัดเพื่อความถูกต้อง พวกเขาเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติในชีวิตของพวกเขา


ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้มักกลัวการอยู่คนเดียว ไม่อยากถูกทอดทิ้ง หรือไม่มีคนรัก พวกเขาคิดว่า แม้ว่าคนที่ทำร้ายพวกเขาจะทำให้พวกเขาทุกข์ แต่ก็ยังคงอยู่ด้วยกัน


นี่คือ 5 รูปแบบที่เกิดขึ้นกับคนที่บาดแผลทางจิตใจในอดีตไม่ได้รับการรักษา ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดอยู่ในวงจรนี้ และต้องการหลุดพ้น การสร้างชีวิตใหม่ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดและการรักษา นั้นเป็นวิธีที่แนะนำค่ะ


 

The Better You by Pair


เราเป็น Platform ที่แบ่งปันบทความด้านจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณ


นอกจากนี้ เรายังมีบริการอื่นๆ ที่คุณสามารถใช้บริการได้ในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่


การให้บริการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยามืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกษามากกว่า 1000 ชั่วโมง 

การบำบัดในรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจสำหรับปัญหาของคุณโดยเฉพาะ 



bottom of page