แม้ว่าเด็ก ๆ จะสามารถเรียนรู้และปรับตัวเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจมั่นคงและเข้มแข็งได้ แต่พวกเขาก็มีความบอบบาง เหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ที่พวกเขาพบเจออาจสร้างบาดแผลทางใจที่มีผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาวได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้เราสังเกตอาการของเด็กเพื่อที่จะเข้าช่วยเหลือและเยียวยาได้อย่างทันท่วงที
บาดแผลทางใจในวัยเด็กคืออะไร
บาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Childhood Trauma) เกิดจากการที่เด็กต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิต สร้างความหวาดกลัวและบาดแผลทางใจ เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการประสบภัยจากธรรมชาติ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือภัยธรรมชาติ
การที่เด็กต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สร้างความเครียดเป็นเวลานาน เช่น การถูกรังแก (bullying) ก็สามารถสร้างบาดแผลทางใจได้เช่นกัน นอกจากนี้ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง แต่การที่เขาต้องเผชิญกับภาพเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ก็สามารถส่งผลกระทบได้
บาดแผลทางใจในวัยเด็กและโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง (PTSD)
จากสถิติพบว่า เด็กหญิงจำนวน 3-5% และเด็กชายจำนวน 1-6% มีภาวะ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) หลังจากผ่านเหตุการณ์รุนแรง จากผลทางสถิติจะเห็นได้ว่าเด็กส่วนมากสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติ แต่เด็กที่มีภาวะ PTSD มักจะฉายภาพเหตุการณ์ความรุนแรงในหัวซ้ำ ๆ และมีพฤติกรรมในการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
พฤติกรรมและอาการของเด็กที่มีภาวะ PTSD
โกรธง่ายและก้าวร้าว
วิตกกังวล
ซึมเศร้า
ไม่เชื่อในคนอื่น
กลัว
รู้สึกโดดเดี่ยว
มี self-esteem ต่ำ
มีพฤติกรรมที่ทำร้ายตัวเอง
อาการและพฤติกรรมที่พบในเด็กที่ยังไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้น PTSD
ปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์โกรธ
เรียกร้องความสนใจเป็นพิเศษ
ไม่อยากอาหาร
มีความกลัวใหม่ ๆ
ความคิดเกี่ยวกับความตายหรือความปลอดภัยมากขึ้น
กระวนกระวาย
ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยให้ความสนใจ
นอนไม่หลับ
เศร้า
ไม่อยากไปโรงเรียน
บ่นว่าปวดหัวหรือปวดท้องบ่อย ๆ
ผลกระทบระยะยาวของบาดแผลทางจิตใจ
บาดแผลทางจิตใจส่งผลต่อการพัฒนาของสมองเด็ก มีการศึกษาในปี 2015 พบว่าปัญหานี้ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการซึมเศร้า โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ไม่เพียงเท่านี้ ในปี 2016 ได้มีการศึกษาและพบว่าผู้ที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็กมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป
การสร้างความสัมพันธ์เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนเลี้ยงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาด้านอารมณ์และสุขภาพทางร่างกาย การที่เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนเลี้ยงจะทำให้เขาเรียนรู้ที่จะเชื่อใจผู้คน จัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ และปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อย่างปกติสุข
อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีบาดแผลทางใจจะมีความรู้สึกหวาดกลัวต่อโลกภายนอก ไม่เชื่อใจผู้คน รู้สึกว่าไม่สามารถพึ่งพาใครได้ ความคิดนี้ส่งผลให้เขามีปัญหาต่อการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัว จากการศึกษาของประเทศออสเตรเลียในปี 2008 พบว่าเด็กจำนวน 21,000 คนที่มีบาดแผลทางใจเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มีปัญหาความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว
การช่วยเหลือเด็กที่มีบาดแผลทางใจ
การดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยลดความเจ็บปวดและบาดแผล และนี่เป็นวิธีที่สามารถใช้ได้
ให้เด็กได้พูดถึงความรู้สึกของเขาและเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง
ตอบคำถามอย่างซื่อสัตย์
ให้ความมั่นใจกับเด็กว่าจะปกป้องและดูแลให้ความปลอดภัยกับเขา
มีกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน
วัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญที่จะเตรียมความพร้อมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจสมบูรณ์และมั่นคง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและการให้ความช่วยเหลือในทางที่เหมาะสมจะช่วยให้พวกเขาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในแบบที่พวกเขาต้องการ
The Better You Counseling
คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง? The Better You Counseling พร้อมเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับสู่ชีวิตที่ดีกว่า ด้วยบริการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้ง Online และ Onsite เราพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านสุขภาพจิตของคุณ
🔓 Individual Counseling: เซสชั่นส่วนตัวเพื่อสำรวจตัวตนและค้นหาแนวทางในการเติบโต
💑 Couple Counseling: เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างคู่รัก
👥 Group Counseling: แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน
เรายังมีหลักสูตรด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เพื่อเสริมทักษะการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ พร้อมด้วยบริการบำบัดรักษาเฉพาะทางสำหรับ:
🩹 ผู้ประสบภาวะสะเทือนขวัญทางใจ (Trauma)
✍️ การบำบัดผ่านการเขียน (Writing Therapy)
🧘♀️ Retreat Program ที่ผสมผสานการบำบัดและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
สำหรับองค์กร เราพร้อมให้บริการ:
🔍 วิเคราะห์สุขภาพจิตในที่ทำงาน
🎓 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในสถานที่ทำงาน
Comments