top of page

การเขียนบำบัด เครื่องมือที่เหมาะกับคนพูดไม่เก่ง

Updated: Sep 15, 2023

การเขียนบำบัดเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการบำบัดปัญหาสุขภาพจิตที่เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมาก


การเขียนบำบัดคืออะไร


การเขียนบำบัดเป็นเครื่องมือที่ใช้การเขียนในการสำรวจความคิดความรู้สึกและทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ผู้เขียนจะสามารถแสดงออกทางความรู้สึกได้อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งกระบวนการเขียนบำบัดจะถูกออกแบบโดยนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ

การเขียนเพื่อบำบัดมีความแตกต่างจากการเขียนบันทึกส่วนตัวดังต่อไปนี้

  1. การเขียนบันทึกประจำวันเขียนเพื่อบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของผู้เขียน มีจุดประสงค์เพื่อที่จะบันทึกความทรงจำเป็น แต่การเขียนเพื่อเยียวยาจะเป็นการเขียนเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านการเขียน มีเป้าหมายเพื่อบำบัดเยียวยาสุขภาพจิต

  2. การเขียนเพื่อบำบัดเป็นกระบวนการเขียนที่ออกแบบขึ้นโดยนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดสุขภาพจิต ในขณะที่การเขียนบันทึกเป็นการเขียนบันทึกแบบอิสระโดยผู้เขียนเป็นหลัก



เขียนบำบัด
เขียนบำบัด

กระบวนการของการเขียนบำบัด


กระบวนการของการเขียนบำบัดสามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. เริ่มต้นด้วยการกำหนดรูปแบบการเขียน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบดิจิตอลหรือเขียนผ่านกระดาษตามความถนัดและสะดวกของผู้เขียน

  2. กำหนดเวลาที่ใช้ในการเขียน ควรจะกำหนดเวลาที่แน่นอนและลงมือเขียนในที่สงบเงียบ ช่วยให้มีสมาธิและลงมือเขียนจนเสร็จ

  3. ทำการเขียนซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การออกแบบของนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนความคิดและความรู้สึกออกมาอย่างอิสระ (free writing) หรือการเขียนตามโจทย์หรือหัวข้อที่กำหนดไว้

  4. หลังจากการเขียน ผู้เขียนจะอ่านทบทวนสิ่งที่เขียนอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจ ค้นหารูปแบบความคิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนขึ้น

  5. พูดคุยกับนักจิตวิทยาเมื่อเขียนเสร็จ นักจิตวิทยาจะเป็นผู้ช่วยในกระบวนการสะท้อนความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นรวมถึงการร่วมกันหาทางออกอย่างมีประสิทธิภาพด้วย



ประโยชน์ของการเขียน


การเขียนช่วยให้ผู้เขียนมีความรู้สึกปลอดภัย เพราะเป็นการสื่อสารความคิดลงของตนเองออกมา โดยไม่มีบุคคลอื่นอยู่ร่วม นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการระบายอารมณ์และความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่สื่อสารโดยการพูดไม่เก่ง

  1. การเขียนช่วยให้ผู้เขียนมีการมองเห็นความคิดที่สื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจนขึ้น ช่วยให้สามารถตกตะกอนทางความคิด มองเห็นรูปแบบความคิดบางอย่างและวางแผนการจัดการได้อย่างเหมาะสมต่อไป

  2. การเขียนช่วยลดความเครียดของบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ซับซ้อน และขจัดความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

  3. การเขียนช่วยให้พัฒนาสุขภาพจิตได้ โดยมีหลักฐานการศึกษาพบว่า การเขียนช่วยลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และ PTSD ได้

  4. เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้สึกทางด้านลบที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ (Coping Mechanism) โดยเมื่อเราสามารถระบุถึงอารมณ์ทางด้านลบที่เกิดขึ้นได้ เราก็จะสามารถระบุถึงที่มา เข้าใจตัวเองมากขึ้น และรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น พัฒนาทักษะ resilience ได้เป็นอย่างดี

  5. การเขียนเป็นเครื่องมือในการหาทางออกของปัญหา โดยเมื่อเราสามารถระบุปัญหาและความคิดที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน ก็จะสามารถหาทางออกของปัญหาได้ง่ายขึ้น

  6. การเขียนส่งเสริมให้ผู้เขียนมีความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น


การศึกษาทดสอบพบว่าการเขียนของผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่เขียนถึงสิ่งที่เครียดในชีวิต จะมีผลสุขภาพที่ดีขึ้นมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เขียน หรือเขียนเรื่องทั่วไป (Smyth et al., 1999) การเขียนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานดีขึ้น (Murray, 2002) นอกจากนี้การเขียนเป็นประจำยังช่วยให้เราค้นพบความหมายในชีวิต มองสิ่งต่างๆ ในมุมมองที่แตกต่างไป ช่วยเราเห็นตัวเองชัดเจนขึ้น และช่วยในการจัดการกับปัญหาได้อย่างง่ายดายขึ้น (Tartakovsky, 2015)


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าสื่อสารโดยการพูดไม่เก่ง และ อยากใช้รูปแบบการเขียนเพื่อการบำบัด สามารถทำผ่าน คอร์ส การเขียนเพื่อบำบัดของ The Better You ได้นะคะ




 

The Better You by Pair


เราเป็น Platform ที่แบ่งปันบทความด้านจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณ


นอกจากนี้ เรายังมีบริการอื่นๆ ที่คุณสามารถใช้บริการได้ในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่


การให้บริการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยามืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกษามากกว่า 1000 ชั่วโมง 

การบำบัดในรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจสำหรับปัญหาของคุณโดยเฉพาะ 


bottom of page