top of page
Writer's pictureUngkana Kerttongmee

ความสุขง่ายๆ เริ่มต้นได้ด้วย "การยอมรับตัวเอง"

Updated: Jul 16

คุณเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ไหมคะ บางครั้งรู้สึกชีวิตไม่มีความสุขเอาเสียเลย มองอะไรก็ยากลำบากไปหมด มีความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในหัว ไม่ว่าจะเป็น


- ใครๆก็เก่งกว่าเราทั้งนั้น

- ทำไมเราถึงไม่เป็นเหมือนคนนี้คนนั้น

- ทำไมเราถึงไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย

- ทำไมทำอะไรก็ไม่ได้รับการยอมรับที่ดีเลย

- หรืออาจจะไปถึงสิ่งที่เรามองไม่เห็น เช่น สวรรค์ทำไมไม่เคยเข้าข้างเราเอาเสียเลย อาจจะคิดว่าตัวเรานั้นมีอะไรผิดปกติไปหรือเปล่านะ


ถ้าคุณลองสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่า ความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในหัว แม้ว่าจะไม่มีสถานการณ์ใดๆ เกิดขึ้นด้วยซ้ำ เราคิดในด้านลบซ้ำๆ สร้างเป็นความวิตกกังวล และ ความเครียด จนลืมไปว่ามีเรื่องดีๆ เรื่องอื่นๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเราเช่นกัน



"การยอมรับตัวเอง" เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้เรากลับมาสร้างความสุขได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากที่ตัวเราเอง


การยอมรับตัวเอง (Self-Acceptance) vs การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem)


หลายคนอาจจะสับสนระหว่าง การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) กับ การยอมรับตนเอง (Self-acceptance)


- การเห็นคุณค่าในตัวเอง หรือ การภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) คือ การที่เราเคารพคุณค่า ความสามารถ และ ภูมิใจในความเป็นตัวของเราเอง โดยมองในเรื่องของ "ความสามารถ" ซึ่งก่อนที่เราจะมีความสามารถได้ เราจะต้อง ยอมรับตัวเองเสียก่อน

- การยอมรับตัวเอง (Self-Acceptance) คือ การยอมรับตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็น หรือ การยอมรับของคนอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง ลักษณะ นิสัย หรืออื่นๆ ซึ่งเราจะสามารถยอมรับ และตระหนักรู้ถึงความเป็นตัวเราได้ เมื่อเรายอมรับตัวเองได้ เลิกตัดสินตัวเองในเชิงลบ เราก็จะเริ่มรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น ส่งผลให้เราสามารถเห็นคุณค่าองตัวเองได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง



ความสามารถในการยอมรับตัวเองเริ่มจากจุดไหนกันนะ


เราอาจไม่สามารถยอมรับตัวเองได้ตั้งแต่เด็ก แต่การยอมรับตัวเองเกิดจากการฝึกฝน แต่คนๆ หนึ่งจะสามารถยอมรับตัวเองได้เร็วแค่ไหน ผู้เลี้ยงดูก็มีอิทธิพลกับเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากเขาเป็นต้นแบบในการยอมรับตัวเองให้กับเรา


มีงานวิจัยเปิดเผยว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี ยังไม่สามารถที่จะรู้สึก หรือ กำหนดคุณค่าของตนเองได้ คุณค่าของพวกเขาถูกกำหนดมาจากผู้เลี้ยงดู หรือ คนใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่ง ถูกตำหนิในสิ่งที่เขาทำไม่ได้ หรือ ทำได้ไม่ดี ไม่ค่อยได้รับคำชม หรือ มักได้รับคำพูดในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องหน้าตา ความฉลาด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กๆ จดจำ และ สะท้อนเป็นความเชื่อของเขาต่อตัวของเขาเอง ว่าเขาไม่ดีพอ ตำหนิตัวเอง และ ไม่สามารถยอมรับตัวเองได้อย่างแท้จริง


แล้วเราจะแก้ไขปัญหาในการยอมรับตัวเองนี้ได้อย่างไร ??


แน่นอนถ้าคุณเติบโตมาในครอบครัวที่เพียบพร้อม และได้รับพลังงานทางบวก ได้รับคำชม การสนับสนุนในทุกด้านๆ ปัญหานี้จะเกิดกับคุณได้น้อยมาก แต่ถ้าไม่ล่ะ ?? เราจะข้ามผ่านความรู้สึกเหล่านี้ไปได้อย่างไร


คุณอาจไม่สามารถกลับไปแก้ไขอดีตที่ผ่านมาได้ แต่คุณสามารถกลับมาโฟกัสที่ปัจจุบัน และสร้างอนาคตของคุณให้ดีขึ้นได้ ซึ่งการยอมรับตัวเอง เริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการ "หยุดติดสินตัวเราเอง" เช่น หยุดพูดกับตัวเองว่า เราไม่เคยทำอะไรสำเร็จเลย ฉันมันแย่ ฉันไม่ดีเหมือนคนอื่น เป็นต้น คำพูดเหล่านี้ล้วนสร้างความรู้สึกด้านลบให้กับตัวของเราเองทั้งสิ้น



หนังสือชื่อว่า "Happiness Now" ของ โรเบิร์ต โฮลเดน ได้พูดถึง ความสุขกับการยอมรับตัวเองไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า "โดยแท้จริงแล้ว ระดับของการยอมรับตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดระดับความสุขในชีวิตคุณ ยิ่งคุณยอมรับตนเองได้มากเท่าไหร่ ความสุขในชีวิตคุณจะทวีคูณมากเท่านั้น และคุณควรจะมีความสุขมากพอๆกับที่คุณเชื่อว่าคุณคู่ควร"

สิ่งที่สองที่จะช่วยทำให้คุณกลับมายอมรับตัวเองได้อย่างไม่มีเงื่อนไขก็คือ "การแสดงความเห็นอกเห็นใจ ต่อตัวของเราเอง" ซึ่งทำได้โดยการกลับมาสำรวจภายในจิตใจของเราว่า เราบอบช้ำแค่ไหน บาดเจ็บตรงไหน เราทำร้ายตัวเราเองด้วยความคิดเชิงลบมานานแค่ไหน รับรู้และทำความเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทำความรู้จักตัวเองอีกครั้งว่า เราชอบ หรือ ไม่ชอบอะไร อะไรคือเรื่องที่เราทำได้ดี อะไรในตัวเองที่เราอาจไม่ชอบเท่าไร และ เริ่มยอมรับตัวเราในแบบที่เราเป็น โดยรู้ว่า เราสามารถพัฒนาตัวของเราเองให้ดีขึ้นได้เสมอ


ในโลกใบนี้ ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบนะคะ ทุกคนมีจุดแข็ง และ จุดอ่อนเหมือนกัน ไม่มีใครเหมือนใคร เราเป็นเราในแบบที่พิเศษและสวยงาม หันกลับมาชื่นชมในจุดแข็งของเรา มองตัวเราในแง่มุมที่จะทำให้เรามีความสุข


มีสำนวนฝรั่งเศสอยู่ประโยคหนึ่ง กล่าวว่า "Tout comprendre, c'est tout law" “เราเรียนรู้ที่จะเข้าใจทุกอย่าง เพื่อที่จะได้ให้อภัยทุกอย่าง” เปรียบเปรยได้ว่า ถ้าเราเข้าใจสาเหตุเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตที่ทำให้เราไม่ยอมรับตัวเอง หรือทำให้ตัวเองไม่มีความสุขได้แล้วนั้น ขั้นต่อไปคือการให้อภัยตัวเอง และเรียนรู้ที่จะไม่ทำมันซ้ำอีกในอนาคต


เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถยอมรับตัวเองได้ เราก็จะรักตัวเองมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งการที่เรารักตัวเอง เราจะสามารถปกป้องตัวเราจากการโดยคนอื่นทำร้าย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย หรือจิตใจ การรักตัวเอง จะทำให้เราเลือกสิ่งดีๆ ในชีวิต สิ่งที่เราคู่ควร สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขค่ะ


การยอมรับตัวเอง จะทำให้เราหยุดพัฒนาตนเองหรือเปล่า ??


บางคนอาจจะเกิดความคิดสับสนว่าแล้วถ้ายอมรับตัวเอง ยอมรับข้อเสียตัวเองได้แล้ว จะทำให้ตัวเราไม่พัฒนาขึ้นหรือเปล่า จริงๆแล้วในเรื่องของการยอมรับตัวเอง และการพัฒนาตนเองนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกันอยู่เลย


การพัฒนาตนเอง คือ การที่เราต้องการที่จะแก้ไขจุดบกพร่อง สิ่งที่เรามองว่าเราสามารถพัฒนาขึ้นให้ดีขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเรายอมรับตัวเองได้ในจุดที่เราเป็นในปัจจุบัน เราก็จะสนุกกับการพัฒนาตัวเองมากขึ้น มองสิ่งนี้เป็นความท้าทาย มีความสุขกับการเป็นเราได้ในปัจจุบัน และ สนุกกับการพัฒนาตัวเองไปเป็นแบบที่เราต้องการในอนาคต


ความสุขเป็นสิ่งง่ายๆ ที่เราไม่ต้องไปขวนขวายหาจากที่ไหน แต่เริ่มต้นได้จาก การยอมรับตัวเองนี่เองค่ะ


 

The Better You Counseling

คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง? The Better You Counseling พร้อมเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับสู่ชีวิตที่ดีกว่า ด้วยบริการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้ง Online และ Onsite เราพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านสุขภาพจิตของคุณ

🔓 Individual Counseling: เซสชั่นส่วนตัวเพื่อสำรวจตัวตนและค้นหาแนวทางในการเติบโต

💑 Couple Counseling: เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างคู่รัก

👥 Group Counseling: แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน

เรายังมีหลักสูตรด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เพื่อเสริมทักษะการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ พร้อมด้วยบริการบำบัดรักษาเฉพาะทางสำหรับ:

🩹 ผู้ประสบภาวะสะเทือนขวัญทางใจ (Trauma)

✍️ การบำบัดผ่านการเขียน (Writing Therapy)

🧘‍♀️ Retreat Program ที่ผสมผสานการบำบัดและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

สำหรับองค์กร เราพร้อมให้บริการ:

🔍 วิเคราะห์สุขภาพจิตในที่ทำงาน

🎓 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในสถานที่ทำงาน

 


Comments


bottom of page