คุณเคยรู้สึกท้อแท้ รู้สึกแย่กับชีวิตของตัวเอง
ยิ่งเราเห็นเพื่อน หรือ คนใกล้ตัวเรา มีชีวิตที่ดี ประสบความสำเร็จ แต่พอมามองที่ตัวเองแล้ว เรากลับรู้สึกว่าชีวิตเราไม่ก้าวหน้าไปไหนเลย วนอยู่ที่เดิม เราคิดว่า ถ้าเราไม่ทำบางสิ่งบางอย่างพลาด หรือ ถ้าเราทำได้มากกว่านี้ โดยไม่ติดอุปสรรคบางอย่าง ชีวิตเราน่าจะดีกว่านี้ คิดไปคิดมา ก็พาลจะรู้สึกว่า ตัวเองดีไม่พอ เก่งไม่พอ
มนุษย์เรามีธรรมชาติในการชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนรอบตัว นักจิตวิทยาได้ศึกษา และ อธิบายถึงพฤติกรรมนี้ ผ่าน Social Comparison Theory ซึ่งคิดค้นโดยนักจิตวิทยาที่มีชื่อว่า Leon Festinger
ทฤษฎีนี้ได้อธิบายไว้ว่า คนเรามักจะประเมินว่าตัวเองมีความเป็นอยู่ ทำอะไรบางสิ่งบางอย่างได้ดีแล้วหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับคนรอบตัวที่พวกเขารู้จัก เรื่องต่างๆ ที่เปรียบเทียบ ได้แก่ รูปร่างลักษณะภายนอกว่าใครดูดี สวย หล่อ กว่าใคร ความฉลาด หรือ แม้แต่ความสำเร็จในรูปแบบต่างๆ
นักจิตวิทยายังได้ระบุไว้อีกว่า เราเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถคิดได้เป็น 10% จากเรื่องที่เราคิดทั้งหมด
การเปรียบเทียบ มีประโยชน์ในแง่มุมของ หากเราเปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่า อาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้นกับสถานการณ์ของตัวเองในปัจจุบัน หรือ แม้แต่ถ้าเราเปรียบเทียบกับคนที่ทำได้ดีกว่า แต่เรามองมันเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ตัวเองทำได้ดีขึ้น เก่งขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ดีกับชีวิตของเรา
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียที่มาจากการเปรียบเทียบก็มีไม่น้อย Theodore Roosevelt นักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า การเปรียบเทียบ เปรียบเสมือน โจรที่มาขโมยความสุขของเรา ถ้าเราเปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่าเป็นประจำ จนกลายเป็นความรู้สึกที่ว่าเราดีกว่าคนอื่น ทำลายความรู้สึกเห็นอกเห็นใจที่เราควรจะมีต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เราหลงผิด มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมเดียว หรือ แม้แต่ หากเราเปรียบเทียบกับคนที่ดีกว่า แล้วทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตเราไม่ดี วิตกกังวล หมดกำลังใจ ซึมเศร้า เครียดได้ เป็นต้น
นักจิตวิทยาได้แนะนำ 6 ข้อคิดให้เราใช้ในการเตือนตัวเอง เมื่อเราเปรียบเทียบ และ รู้สึกแย่ ดังต่อไปนี้
ข้อคิดที่ 1 เราทุกคนทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในตอนนั้นแล้ว
บ่อยครั้งที่เวลาเราเปรียบเทียบกับคนที่ดีกว่า เรารู้สึกอิจฉาคนที่มีในสิ่งที่เราอยากได้ (แต่เรายังไม่สามารถมีได้หรือเป็นได้ในปัจจุบัน) ก็พาลจะทำให้เราย้อนกลับไปคิดถึงอดีต รู้สึกผิด ว่าเราควรจะทำให้ดีกว่านี้ จนลืมความจริงไปว่า ในตอนนั้น เราก็ได้ทำดี และ ตัดสินใจดีที่สุด ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เรามีในตอนนั้นแล้ว รวมถึงคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้คือ เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ให้เราทำได้ดีขึ้น ตัดสินใจได้ดีขึ้นในปัจจุบัน
ข้อคิดที่ 2 เราสามารถเป็นเพื่อนที่ดี เป็นคนที่รัก ตัวเราที่สุดได้ โดยไม่ต้องเรียกร้องจากคนอื่น
เวลาที่เราเปรียบเทียบกับคนอื่น แล้วทำให้เรารู้สึกแย่ ตอนนั้นเรามักมีความคิดในแง่ลบเกิดขึ้น เช่น ทำไมเราถึงไม่เก่ง ไม่ดีเท่าคนอื่นเขา เป็นต้น
การที่จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ คือ การเปลี่ยนความคิดด้านลบเป็นความคิดด้านบวก หรือ กำลังใจ ซึ่งบ่อยครั้ง การที่จะต้องอธิบายความคิดและความรู้สึกให้กับคนอื่นทำตลอดเวลาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เราสามารถเป็นคนๆ นั้นได้
ลองจินตนาการว่า ถ้าเราเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด รักเรามากที่สุด ถ้าเราเดินมาเล่าให้เพื่อนฟังว่า เรารู้สึกแบบนี้ คิดแบบนี้ เราจะตอบเพื่อนกลับไปว่าอย่างไร สำหรับแพร แพรอาจจะตอบกลับไปว่า “ไม่เป็นไรนะ คนอื่นจะเป็นยังไงก็เป็นเรื่องของเขา เป็นวิถีชีวิตของเราซึ่งแตกต่างกับเรา เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาเธอได้ทำมันอย่างดีที่สุดแล้ว และมันก็ดีมากๆ แล้วเช่นกัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอดีต เรายังมีวันนี้ มีพรุ่งนี้ให้เราเริ่มใหม่ และทำให้ดีขึ้นได้เสมอ”
ข้อคิดที่ 3 เราดีพอได้ โดยไม่ต้องสมบูรณ์แบบ
ชีวิตของเราคือเส้นทางของการเรียนรู้ เราไม่มีทางทำสิ่งๆ หนึ่งได้สมบูรณ์แบบขึ้นในครั้งแรก ความสำเร็จของบุคคลที่สร้างสิ่งยิ่งใหญ่หลายๆ คนในโลก ก็ผ่านความผิดพลาด ผ่านการลองผิดลองถูกมาด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น เพียงแค่เราลงมือทำ และ ทำมันอย่างดีที่สุดเท่าที่เรารู้ ก็ดีมากพอแล้ว
หากเราไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และ พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะสามารถเก่งขึ้น ดีขึ้นได้เรื่อยๆ เช่นกัน
ข้อคิดที่ 4 เรามีคุณค่ามากกว่าความสำเร็จในอดีต หรือ สิ่งของที่เรามี
ความสำเร็จของเรา เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ และ สร้างความพึงพอใจในชีวิตให้กับเรา แต่บ่อยครั้งที่เรายึดติดกับความสำเร็จมากจนเกินไป จนคิดว่าสิ่งๆ นี้เป็นเครื่องวัดคุณค่าของเรา เราเปรียบเทียบความสำเร็จของเรากับคนอื่น และ ถ้าเรามีน้อยกว่า สำเร็จน้อยกว่า ก็พาลจะไปผูกติดกับคุณค่าของตัวเราว่า อาจจะน้อยกว่าคนอื่นไปด้วย
คุณค่าของเราอยู่ที่ตัวเรา โดยไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนสิ่งของหรือความสำเร็จที่เราทำได้ ลองถามตัวเองดูว่า เมื่อเราจากโลกนี้ไป เราอยากให้คนจดจำเราได้ว่า เรามีสิ่งของอะไรที่เป็นของเรา หรือ จดจำที่สิ่งที่เราทำได้ หรือ อยากให้คนจดจำเรา ว่า เราคือใคร มีบุคลิกลักษณะอย่างไร ชอบอะไร ที่ตัวตนของเรา หรือเปล่า
ข้อคิดที่ 5 การจำกัดความคิดลบ ไม่ช่วยลดความรู้สึกแย่
ความรู้สึกของเราเกิดขึ้นด้วยเหตุผลบางอย่าง
แทนที่เราจะพยายามกดมันไว้ กำจัดมัน แต่กลับมาทำความเข้าใจ ตั้งคำถามว่า เพราะอะไรเราถึงรู้สึกแบบนี้ การทำแบบนี้ จะทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น และ เมื่อเราตอบสนองความรู้สึกของเราอย่างสร้างสรรค์ ไม่เพียงแต่ความรู้สึกอิจฉา และ ความรู้สึกแย่ๆ จะหายไปแล้ว เรายังมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นอีกด้วย
ข้อคิดที่ 6 : เราไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับใคร
คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีเอกลักษณ์ จุดแข็ง และ จุดอ่อนไม่เหมือนกัน ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้
การรู้ความจริงในข้อนี้ว่า เราไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับคนอื่นได้ เนื่องจากแต่ละคนมีเรื่องราวชีวิตไม่เหมือนกัน มีจังหวะชีวิตไม่เหมือนกัน การเปรียบเทียบเพียงผิวเผิน ถึงสิ่งที่คนอื่นมี คนอื่นเป็น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก
คนเดียวที่เราจะสามารถแข่งขันได้ คือ ตัวเราเองเมื่อวานนี้
นี่หละค่ะ 6 ข้อคิดที่แพรคิดว่าจะสามารถช่วยให้คุณลดความรู้สึกแย่กับโชคชะตาชีวิต หรือ ความรู้สึกอิจฉาที่เกิดขึ้นภายในใจของเราได้ หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อยนะคะ
The Better You Counseling
คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง? The Better You Counseling พร้อมเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับสู่ชีวิตที่ดีกว่า ด้วยบริการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้ง Online และ Onsite เราพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านสุขภาพจิตของคุณ
🔓 Individual Counseling: เซสชั่นส่วนตัวเพื่อสำรวจตัวตนและค้นหาแนวทางในการเติบโต
💑 Couple Counseling: เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างคู่รัก
👥 Group Counseling: แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน
เรายังมีหลักสูตรด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เพื่อเสริมทักษะการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ พร้อมด้วยบริการบำบัดรักษาเฉพาะทางสำหรับ:
🩹 ผู้ประสบภาวะสะเทือนขวัญทางใจ (Trauma)
✍️ การบำบัดผ่านการเขียน (Writing Therapy)
🧘♀️ Retreat Program ที่ผสมผสานการบำบัดและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
สำหรับองค์กร เราพร้อมให้บริการ:
🔍 วิเคราะห์สุขภาพจิตในที่ทำงาน
🎓 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในสถานที่ทำงาน
Comments