top of page

บาดแผลทางใจในวัยเด็ก Childhood trauma

Updated: Mar 5, 2022

แม้ว่าเด็กๆ จะสามารถเรียนรู้ และ ปรับตัว เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจที่มั่นคง และ เข้มแข็งได้ แต่ พวกเขาก็มีความบอบบาง เหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ที่พวกเขาพบเจอ อาจสร้างบาดแผลทางใจ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการของลูก เพื่อที่จะเข้าช่วยเหลือ เยียวยาได้อย่างทันท่วงที





บาดแผลทางใจในวัยเด็ก คืออะไร Childhood Trauma หรือ บาดแผลทางใจในวัยเด็ก เกิดจาก การที่เด็กต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิต สร้างความหวาดกลัว และ บาดแผลทางใจให้กับพวกเขา โดยเหตุการณ์นี้ เกิดได้ในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือ แม้แต่ผ่านเหตุการณ์ที่น่ากลัวส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิต เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

การที่เด็กจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สร้างความเครียดเป็นเวลานาน อย่างต่อเนื่อง เช่น การถูกรังแก หรือ bully ก็สามารถสร้างบาดแผลทางใจต่อเขาได้เช่นกัน บาดแผลทางใจ สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก แม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง แต่การที่เขาต้องเผชิญกับภาพเหตุการณ์ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นจากทางทีวี หรือ เห็นความรุนแรงในครอบครัว เช่น พ่อทำร้ายร่างกายแม่ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหตุการณ์บางเหตุการณ์จะสร้างผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกต่อเด็ก เช่น พ่อแม่แยกทางกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะทำให้เด็กทุกคนมีบาดแผลทางใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ และ ทักษะ resilent ของเด็กแต่ละคน

บาดแผลทางใจในวัยเด็ก และ โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) จากสถิติพบว่า เด็กหญิงจำนวน 3-5% และ เด็กชายจำนวน 1-6% มีภาวะ PTSD (post traumatic stress disorder) หลังจากผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรง จากผลทางสถิติจะเห็นได้ว่า เด็กส่วนมากสามารถที่จะปรับตัว และ เรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตของเขาต่อไปได้อย่างปกติ เมื่อเด็กมีภาวะ PTSD เขาก็มักจะฉายภาพเหตุการณ์ความรุนแรงที่เขาประสบในหัวซ้ำๆ และมีพฤติกรรมในการพยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ หรือ สิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เขานึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หรือ แม้แต่ จำลองเหตุการณ์นั้นออกมาในระหว่างการเล่นของเขา เด็กกลุ่มนี้ จะมีความวิตกกังวล และ พยายามมองหาสัญญาณที่พวกเขาคิดว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ความรุนแรง พฤติกรรม และ อาการของเด็กที่มีภาวะ PTSD มีดังต่อไปนี้

  • โกรธง่าย และ ก้าวร้าว

  • วิตกกังวล

  • ซึมเศร้า

  • ไม่เชื่อในคนอื่น

  • กลัว

  • รู้สึกโดดเดี่ยว

  • มี self-esteem ต่ำ

  • มีพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายตัวเอง

อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนที่ยังไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้นภาวะ PTSD ก็สามารถสังเกตถึงพฤติกรรม และ อาการ อันเนื่องจาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับจิตใจของพวกเขาได้ ดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์โกรธ

  • เรียกร้องความสนใจเป็นพิเศษ

  • ไม่อยากอาหาร

  • มีความกลัวใหม่ๆ

  • มีความคิดเกี่ยวกับความตาย หรือ ความปลอดภัยมากขึ้น

  • กระวนกระวาย

  • ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยให้ความสนใจ

  • นอนไม่หลับ

  • เศร้า

  • ไม่อยากไปโรงเรียน

  • บ่นว่า ปวดหัว ปวดท้อง บ่อยๆ


ผลกระทบระยะยาว บาดแผลทางจิตใจส่งผลต่อการพัฒนาของสมองเด็ก และยังมีการศึกษาในปี 2015 พบว่า ปัญหานี้ยังส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ อีกด้วย ความเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพ ได้แก่

  • โรคหอบหืด

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

  • อาการซึมเศร้า

  • โรคเบาหวาน

  • โรคหลอดเลือดสมอง


ไม่เพียงเท่านี้ ในปี 2016 ได้มีการศึกษา และ พบว่า ผู้ที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป

การสร้างความสัมพันธ์เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก กับ คนเลี้ยง มีความสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ และ สุขภาพทางร่างกาย การที่เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนเลี้ยง จะทำให้เขา เรียนรู้ที่จะเชื่อใจผู้คน จัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ และ สามารถปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตกับโลกภายนอกได้อย่างปกติสุข

อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีบาดแผลทางใจ พวกเขาจะมีความรู้สึกหวาดกลัวต่อโลกภายนอก ไม่เชื่อใจผู้คน รู้สึกว่าไม่สามารถพึ่งพาใครได้ ด้วยความคิดนี้ ส่งผลให้เขามีปัญหาต่อการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัว จากการศึกษาของประเทศออสเตรเลียในปี 2008 พบว่า เด็กจำนวน 21,000 คนที่มีบาดแผลทางใจ เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ คนกลุ่มนี้ล้วนแล้วแต่มีปัญหาความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว

เราจะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร การดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยลดความเจ็บปวด และ บาดแผล และนี่เป็นวิธีที่สามารถใช้ได้


  • ให้เด็กได้พูดถึงความรู้สึกของเขา และ เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง

  • ตอบคำถามเขาอย่างซื่อสัตย์

  • ให้ความมั่นใจกับเขาว่าเราจะปกป้องและดูแลให้ความปลอดภัยกับเขา

  • มีกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน


วัยเด็ก เป็นวัยที่สำคัญที่จะเตรียมความพร้อมเขาไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจที่สมบูรณ์ มั่นคง เพื่อใช้ชีวิตของเขาให้มีความสุข และ ประสบความสำเร็จในแบบที่เขาต้องการนะคะ


 

The Better You by Pair


เราเป็น Platform ที่แบ่งปันบทความด้านจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณ


นอกจากนี้ เรายังมีบริการอื่นๆ ที่คุณสามารถใช้บริการได้ในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่


การให้บริการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยามืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกษามากกว่า 100 ชั่วโมง 

การบำบัดในรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจสำหรับปัญหาของคุณโดยเฉพาะ 

1,391 views0 comments
bottom of page