วันนี้เราจะพูดมาพูดถึงเรื่องราวที่คาดว่าในช่วงเวลาอาทิตย์กว่าๆเกือบสองอาทิตย์ มีการให้ความสนใจเป็นอย่างมากจากทุกคนในประเทศไทย อันดับหนึ่งเลยคงจะหนีไม่พ้นข่าวของคุณแตงโม นิดา ที่ได้มีการพลัดตกจากเรือ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นข่าวใหญ่มากเลยทีเดียว ตั้งแต่ค้นหาจนตอนนี้ผ่านมาอาทิตย์กว่าแล้วเรียกว่ามีข่าวที่อัพเดตอยู่ตลอดเวลา พลิกไปพลิกมาในทุกวัน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีบางคนที่น่าอดหลับอดนอนจนขอบตาดำกันพอสมควรเลยสินะคะ เพราะข่าวมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลา คือถ้าขาดไปสักรายการสองรายการคิดว่าน่าจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องเลยนะคะ ขนาดตัวผู้เขียนเอง จริงๆติดตามนะคะ แต่ว่าไม่ได้ติดตามตลอดเวลา ทุกรายการ แต่ไม่ว่าจะขับรถ หรือเปิดทีวีดูข่าวในช่วงเวลาไหนก็ตาม ก็จะต้องมีการพูดถึงข่าวนี้อยู่เสมอ เรียกได้ว่าถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจติดตาม แต่เราก็จะได้รับข่าวสารนี้โดยที่ไม่ต้องไปตามหาเลยแหละค่ะ โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ น่าจะเป็นช่องทางที่มีการพูดถึงเรื่องนี้กันค่อนข้างเยอะและแพร่หลายได้เร็ว นอกจากนั้นยังมีการแสดงความคิดเห็น การแชร์โพสต่างๆ แทบจะปรากฎให้เรารับรู้ตลอดทั้งวัน บางคนนี่อาจจะ 24 ชั่วโมงก็ได้ คือแม้ในตอนนอนหลับก็เก็บเอาไปฝันต่อด้วย
ซึ่งจากประสบการณ์ในตอนนี้จากคนรอบตัว ก็เริ่มที่จะมีหลายๆคนเริ่มบ่นกันแล้วค่ะ ว่ารู้สึกหนักหัว ปวดหัว ตึงๆร่างกายแบบไม่ได้มีเรื่องอะไรในชีวิตนะคะ แต่ก็เครียดขึ้นมาแบบไม่รู้ตัว หรือบางคนอาจจะมีอาการคิดถึงเรื่องข่าวคุณแตงโมตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะหยุดได้คิดวนไปวนมา อันนี้ขนาดกับคนที่ไม่ได้มีอาการทางจิตเวช หรือมีประวัติโรคเครียดนะคะ ถ้าในบุคคลกลุ่มนี้คาดว่าน่าจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากเลยละค่ะสำหรับสภาพจิตใจ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มอิน และเครียดกับสถานการณ์นี้มากเกินไปแล้ว และจะมีวิธีการจัดการตนเองกับความเครียดที่เสพสื่อเหล่านี้ได้อย่างไร เดี๋ยวเราจะได้มาพูดคุยกันในบทความนี้นะคะ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับการเสพสื่อที่มากจนเกินไปแล้ว: แน่นอนค่ะเมื่อร่างกาย หรือจิตใจเราเริ่มที่จะมีความไม่ปกติเกิดขึ้น เขาจะส่งสัญญาณเตือนมาก่อนเสมอค่ะ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ตามคอ บ่า ไหล่ ซึ่งบางทีเราอาจจะไม่รู้ตัวอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องงาน หรือปวดเมื่อยปกติ ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ใส่ใจมันขนาดนั้น แต่เมื่อเรายังทำพฤติกรรมซำเดิมไปเรื่อยๆ จากอาการเล็กๆน้อยๆเหล่านั้นอาจจะสะสม และทำให้เกิดความเครียดได้ค่ะ ซึ่งแน่นอนอาจลามไปถึงการทำงาน หรือพฤติกรรมประจำวันที่เปลี่ยนไป เช่น รู้สึกเหนื่อยหมดพลังงาน นอนไม่หลับ ไม่มีกำลังที่จะทำงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เริ่มจะทำให้กระทบกับชีวิตประจำวันอย่างแน่นอนค่ะ และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด คืออาจทำให้เกิดเป็นโรคทางจิตเวชได้ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น ในบทความนี้จึงได้นำแบบทดสอบประเมินความเครียดง่ายๆ มาให้ทุกคนได้ลองใช้เพื่อประเมินตนเองนะคะ ว่าเราเสพติดข่าวจนเกินความเครียดมากเกินไปรึเปล่านะคะ
คะแนน ๐ หมายถึง เป็นน้อยมากหรือแทบไม่มี
คะแนน ๑ หมายถึง เป็นบางครั้ง
คะแนน ๒ หมายถึง เป็นบ่อยครั้ง
คะแนน ๓ หมายถึง เป็นประจำ
ระดับคะแนน 0 - 4 รู้สึกเครียดเล็กน้อย สามารถหายไปได้ใน ระยะเวลาสั้นๆ เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน
คะแนน 5 - 7 รู้สึกเครียดปานกลาง เกิดขึ้นได้ใน ชีวิตประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด อาจรู้สึกวิตกกังวลหรือ กลัว ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความเครียด ระดับนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือเป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิต
ระดับคะแนน 8 - 9 รู้สึกเครียดมาก เป็นระดับที่ท่านได้รับความเดือดร้อนจากสิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์รอบตัวทำให้วิตกกังวล กลัว รู้สึกขัดแย้งหรืออยู่ในสถานการณ์ที่แก้ไข / จัดการปัญหานั้นไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และ การเจ็บป่วย เช่น ความดันโลหิตสูง เป็นแผลในกระเพาะ อาหาร ฯลฯ
ระดับคะแนน 10 - 15 รู้สึกเครียดมากที่สุด เป็นความเครียดระดับสูงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหรือกำลังเผชิญกับวิกฤตของ ชีวิต เช่น เจ็บป่วยรุนแรง / เรื้อรัง มีความพิการ สูญเสียคนรัก ทรัพย์สิน หรือสิ่งที่รัก ความเครียดระดับนี้ส่งผลทำให้เจ็บป่วย ทางกายและสุขภาพจิต ชีวิต ไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน การตัดสินใจไม่ดี ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้ให้การปรึกษาอย่างรวดเร็ว
(อ้างอิงจากกรมสุขภาพจิต)
แล้วเราจะจัดการตนเองได้อย่างไรหากการเสพข่าวของเราทำให้เกิดความเครียด
1.เสพข่าวโดยไม่ใช้เวลาที่ต่อเนื่อง: อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อย่างข่าวของคุณแตงโมค่อนข้างที่จะมีการอัพเดตอยู่ตลอดเวลา ก็ยิ่งกระตุ้นให้เราอยากจะติดตาม ไม่อยากพลาดแม้สักวินาที แต่ถ้าร่างกายเริ่มเตือนเราแล้วว่าเริ่มมีอาการเครียดแล้วนะ ก็จำเป็นต้องหยุดพักกันสักหน่อยนะคะ เช่นอาจจะเช็คตอนเช้าหนึ่งรอบ ไม่เกิน1-2ชั่วโมง จากนั้นอาจจะรอสรุปตอนเย็นทีเดียวค่ะ ถึงแม้เราจะแชร์โพส หรือเข้าร่วมช้าไปหน่อย แต่ไม่สายเกินไปแน่นอน ยังมีคนรอคุยเรื่องอยู่อีกเยอะแน่นอนค่ะ
2.หลีกเลี่ยงบทสทนาที่พูดถึงสื่อเหล่านั้นตลอดเวลา: ต่อจากข้อด้านบนนะคะ เมื่อเราดูข่าวมา เราก็ต้องอยากมีการถกประเด็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเนอะ เช่น ดูรายการโหนกระแส เราก็อยากจะคุยใช่ไหมคะ คนนี้พูดจริงหรือเปล่า หรือสร้างเรื่อง มีความคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่ดูมา แต่การที่เราพูดคุยเรื่องนี้ หรือมีการแสดงความคิดเห็นตลอดเวลา จะทำให้เราเกิดความเครียดสะสมได้ง่ายค่ะ นอกจากนี้แล้วกรณีล่าสุด ได้มีข่าวการทะเลาะกันเกี่ยวกับเรืองนี้ แล้วความคิดเห็นไม่ตรงกัน จึงทำให้มีคนหนึ่งกระโดดตึกเสียชีวิต (อ้างอิงจากเพจเรื่องเล่าเช้านี้ 4/3/65) ซึ่งก็มาจากการที่เราหมกหมุ่น และอินไปกับข่าวจนมากเกินไปค่ะ ทางที่ดีเราควรประเมินสภาพจิตใจเราก่อนว่ายังไหวอยู่ไหม แล้วค่อยเริ่มพูดคุยกันจะดีที่สุดค่ะ
3.หากิจกรรมผ่อนคลาย หรือเบี่ยงเบนความสนใจ: ถ้าเมื่อใดที่ราเริ่มรู้สึกว่ามีอาการที่ไม่ปกติแล้ว เช่น คิดถึงข่าวนี้ตลอดเวลา นอนไม่ได้ หรือเครียดจนทำงานไม่ได้ เมื่อเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และเมื่อเปิดไปทางไหนก็เจอแต่ข่าวนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางที่ดีทึ่สุด คือเราคงต้องงดเสพข่าวสักระยะ และหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายแทนค่ะ เช่น ไปดูNetflix หรือ Youtube แทนการดูทีวีช่องทั่วไป หรือการเข้าไปในสื่อสังคมออนไลน์, หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การนวด ปลูกต้นไม้ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้น่าจะช่วยบรรเทาความเครียดให้ดีขึ้นได้ค่ะ
4.ระบายคุยกับคนที่ไว้ใจ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: ถ้าเริ่มประเมินตนเองได้ว่าไม่ไหวแล้ว ไม่่สามารถที่หลีกเลี่ยงความคิดเหล่านั้นได้ หรือว่ากระทบในชีวืตมากๆ พฤติกรรมประจำวันเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ไม่สามารถที่จะดึงตัวเองขึ้นมาได้เอง การหาคนคุยด้วยเป็นวิธีที่ดีมากค่ะ หาเพื่อนที่ไว้ใจ หรือสนิทเพื่อที่จะได้ระบายความรู้สึก ได้ช่วยคุยปลอบประโลมจิดของคุณ หรือนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้รับการแนะนำ และวิธีการประเมินรักษาอย่างถูกต้องได้ต่อไป
สุดท้ายนี้ คาดว่าพวกเราทุกคนจะยังต้องติดตามข่าวนี้ไปกันอีกสักระยะ รวมถึงตัวดิฉันด้วย ซึ่งเราทุกคนมีความรู้สึกร่วมไปกับข่าวนี้ไม่มากก็น้อย เพราะส่วนใหญ่ได้ดูงาน เห็นดาราสาวคนนี้ หรือข่าวต่างๆมานานหลายปี ได้ทราบประวัติชีวิตต่างๆของเขามาเป็นระยะ จนถึงวันที่เขาได้กลับคืนสู่พระเจ้าแล้ว หลายๆคนน่าจะใจหาย และด้วยรูปเหตุการณ์ค่อนข้างจะไม่ปกติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะที่พวกเราจะอยากติดตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขอให้ทุกคนเสพข่าวกันอย่างระมัดระวัง หมั่นประเมินสุขภาพจิตตนเองอยู่เป็นระยะ เมื่อรู้สึกถึงอาการที่ไม่ปกติ หรือเปลี่ยนแปลงไป ลองนำข้อแนะนำด้าบนไปปรับใช้ เพื่อที่จะประคองจิตใจของเรา และร่วมติดตามไปกับข่าวนี้จนถึงวันที่หาความจริงได้อย่างครบถ้วน และชัดเจนไปพร้อมๆกันนะคะ
The Better You Counseling
คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง? The Better You Counseling พร้อมเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับสู่ชีวิตที่ดีกว่า ด้วยบริการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้ง Online และ Onsite เราพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านสุขภาพจิตของคุณ
🔓 Individual Counseling: เซสชั่นส่วนตัวเพื่อสำรวจตัวตนและค้นหาแนวทางในการเติบโต
💑 Couple Counseling: เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างคู่รัก
👥 Group Counseling: แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน
เรายังมีหลักสูตรด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เพื่อเสริมทักษะการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ พร้อมด้วยบริการบำบัดรักษาเฉพาะทางสำหรับ:
🩹 ผู้ประสบภาวะสะเทือนขวัญทางใจ (Trauma)
✍️ การบำบัดผ่านการเขียน (Writing Therapy)
🧘♀️ Retreat Program ที่ผสมผสานการบำบัดและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
สำหรับองค์กร เราพร้อมให้บริการ:
🔍 วิเคราะห์สุขภาพจิตในที่ทำงาน
🎓 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในสถานที่ทำงาน
Comments